วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สิ่งที่ได้จากการเรียน(11 ธ.ค. 2550)


วันนี้เรียนการทำวิจัย โดยต้องทำอย่างมีขั้นตอน ตอนบ่ายไม่ต้องเรียนแต่ต้องทำงานวิจัยให้เสร็จก่อน วันนี้เครื่องไม่พอเรียนเหมือนเดิมเลย

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2550

วันอาทิตย์ 2 ธันวาคม 2550



7.30-08.15 น. รับเด็กเป็นรายบุคคล
8.15-08.30 น. เข้าแถวเคารพธงชาติ
8.30-08.50 น. สำรวจการมาโรงเรียน สนาทนา ตรวจสุขภาพ
8.50-09.10 น. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
9.10-10.00 น. พักเข้าห้องน้ำ ล้างมือ รับประทานอาหารว่างเช้า
10.00-10.30 น. กิจกรรมในวงกลม
10.30-11.00 น. กิจกรรมสร้างสรรค์ การเล่นตามมุม
11.00-12.00 น. ล้างมือ รับประทานอาหารกลางวัน
12.00-14.00 น. นอนพักผ่อน
14.00-14.20 น. เก็บที่นอน เข้าห้องน้ำ ล้างหน้า
14.20-14.40 น. รับประทานอาหารว่างบ่าย
14.40-15.00 น. เกมการศึกษา

26 พฤษจิกายน 2550


การจัดกิจกรรมมีทั้งเเบบไม่เป็นทางการเเละเเบบเป็นทางการ เพลงเเละนิทานสำหรับเด็ก

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

บทความคณิตศาสตร์

การคิดเลขในใจเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นและมีประโยชน์ในการเรียนคณิตศาสตร์

การคิดเลขในใจ (Mental Math หรือ Figuring in You head) นั้นเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็น และมีประโยชน์ในการเรียนคณิตศาสตร์ การฝึกคิดเลขในใจนั้นควรฝึกทุกระดับตั้งแต่ระดับประถมศึกษา แล้วก็จะช่วยส่งผลต่อการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา และหากนักเรียนมีทักษะการคิดเลขในใจในระดับมัธยมศึกษาแล้วก็จะช่วยส่งผลต่อการเรียนชั้นระดับอุดมศึกษาเช่นกันอย่างแน่นอน
การจัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ฝึกคิดเลขในใจนั้น ควรจัดผสมผสานไปในกระบวนการเรียนการสอน และกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์การคิดเลขในใจเป็นการคิดเลขที่ไม่ใช้เครื่องช่วย เช่น กระดาษ ดินสอ เครื่องคิดเลข เป็นการฝึกคิดเลขในหัว Jack A. Hope, Larry leutzinger,Barbara J.Reys และ Robert E.Reys เชื่อว่า การคิดเลขในใจจะก่อให้เกิดประโยชน์มากมาย ดังนี้
การคิดเลขในใจจะช่วยให้นักเรียนแก่ปัญหาต่าง ๆ ได้ดีขึ้น (Calculation in your head is a practical life skill) โจทย์ปัญหาการคิดคำนวณในชีวิตประจำวันหลายต่อหลายแบบนั้นสามารถหาคำตอบได้โดยการคิดในใจ เพราะในความเป็นจริงขณะที่เราพบปัญหา เราอาจจะต้องการทราบคำตอบเดี๋ยวนั้นเลย การคิดหาคำตอบต้องทำในหัว ไม่ใช้กระดาษ คินสอหรือเครื่องคิดเลขยกตัวอย่าง เช่น ขณะที่เรากำลังออกเดินทางจากสนามบินแห่งหนึ่ง departure board ระบุว่า Flight ที่เราจะออกเดินทางคือ 15.35 น. เรามองดูนาฬิกาว่าขณะนั้นเป็นเวลา 14.49 น. ถามว่ามีเวลาเหลือเท่าไร ? เรามีเวลาเหลือพอที่จะหาอะไรทานไหม ? ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องคิดคำนวณในใจเลยซึ่งถ้าเราฝึกทักษะคิดเลขในใจมาประจำก็จะช่วยให้เราแก้ปัญหาดังกล่าวได้ง่ายขึ้น
การฝึกคิดเลขในใจจะช่วยให้นักเรียนเขียนแสดงวิธีทำได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้น (Skill at mental math can make written computaion easier or quicker) เช่นในการหาคำตอบของ 1,000 x 945 นักเรียนบางคนอาจเขียนแสดงการหาคำตอบดังนี้
ในขณะที่นักเรียนซึ่งฝึกคิดลขในใจมาเป็นประจำสามารถหาคำตอบได้ในหัวข้อแล้ว และลดขั้นตอนการเขียนแสดงวธีทำเหลือแค่บรรทัดเดียวคือ 1,000 x 945 = 945,000 เช่นเดียวกับการหาคำตอบของโจทย์ข้อนี้
นักเรียนสามารถคิดในใจได้คำตอบ ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็วโดยบวกจำนวนสองจำนวนที่ครบสิบก่อนแล้วจึงบวกกับจำนวนที่เหลือ (10 +10+ 10+ 2 = 32) ในขณะที่นักเรียนบางคนอาจใช้วิธีบวกทีละขั้นตอน ซึ่งกว่าจะได้คำตอบก็อาจใช้เวลามากกว่า
การคิดเลขในใจจะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการประมาณ (Proficiency in mental math contributes to increased skill in estimation) ทักษะการประมาณเป็นเรื่องที่สำคัญในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในปัจจุบันเพราะการประมาณจะช่วยในการตรวจสอบคำตอบว่าน่าจะเป็นไปได้ไหม สามเหตุสมผลไหม (make any sence ) เช่น เป็นไปได้ไหมที่คำตอบของ 400x198 จะมากกว่า 80,000 (ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะว่า 400 x 200 = 80,000)
การคิดเลขในใจจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเรื่องเหล่านี้ดีขึ้น คือ ค่าประจำหลัก การกระทำทางคณิตศาสตร์และสมบัติต่าง ๆ ของจำนวน (Mental calculator can lead to a better understanding of place value, mathematical operations, and basic number properties) ทั่งนี้เพราะหากนักเรียนสามารถหาคำตอบได้จากการคิดเลขในใจนั้นก็แสดงว่า นักเรียนต้องมีความเข้าใจในความคิดรวบยอดหลักการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับจำนวนเป็นอย่างดีแล้วเช่นกัน
ครูควรให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดคิดเลขในใจหลังจากที่นักเรียนเข้าใจในหลักการและวิธีการแล้วการฝึกคิดเลขในใจจะช่วยให้นักเรียนมีทักษะ ความชำนาญในการคิดเลขได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วนอกจากนี้ยังช่วยลับสมองให้ตื่นตัวตลอดเวลาในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ครูควรหาแบบฝึกหัดมาให้นักเรียนทำทั้งที่เป็นแบบฝึกหักสำหรับคิดเลขในใจปะปนอยู่ด้วยตลอดเวลา ในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์บางครั้งจะเสนอแบบฝึกหัดให้นักเรียนตอบด้วยวาจา นั่นก็เป็นรูปแบบหนึ่งของแบบฝึกหัดที่ต้องการให้นักเรียนฝึกคิดเลขในใจ โปรดระลึกว่าการฝึกคิดเลขในใจนั้นควรให้นักเรียนได้ฝึกเป็นประจำทึกวันอย่างสม่ำเสมอทำวันละน้อยแต่ต่อเนื่องและควรทำกับนักเรียนทุกระดับตั้งแต่ประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา หากครูผู้สอนคณิตศาสตร์ทุกคนได้ฝึกให้นักเรียนได้รู้จักคิดเลขในใจเป็นประจำก็เชื่อได้ว่านักเรียนจะมีทักษะการบวกลบคุณหารดีขึ้นคิดได้ถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็วขึ้นภาพลักษณ์ของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 อาจเป็น " เด็กไทยคิดเลขเก่งและเร็วกว่าเครื่องคิดเลข" ก็ได้
ที่มา: ปานทอง กุลนาถศิริ, วารสาร สสวท. ฉบับที่ 97 หน้า 25-26

ความรู้ที่ได้รับ งานวิจัยวิทยาศาสตร์วันที่ 19 พ.ย 2550




ได้รับความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ได้รู้ว่าควรจัดกิจกรรมอย่างไรให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยได้รับความรู้มากมายจากการอ่านวิจัยในครั้งนี้มากและก็จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ให้สูงสุด

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สรุปงานวิจัย(วันที่ 13 พ.ย.2550)


งานวิจัยครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อการเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งเด็กแต่ละคนนั้มีความสามารถแตกต่างกัน ทั้งด้านสติปัญญา เพศ อายุ ความพร้อมและความต้องการของเด็ก งานวิจัยครั้งนี้ได้จัดทำขึ้นกับเด็กปฐมวัยระดีบชั้น เด็กอนุบาล 2 ปี 2543 อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี จำนวน 614 คน จาก 15 โรงเรียน จัดทำโดยการสร้างแบบทดสอบทางคณิตศาสตร์ ที่ใช้สื่อการเรียนการสอนแตกต่างกันเช่น แบบจำลองภาพต่างๆ และให้เด็กได้ลงมือทำแบบทดสอบ เมื่อเด็กทำแบบทดสอบเสร็จก็ทำการประเมินเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสาตร์ หลังจากนั้นนำผลการประเมินไปศึกษาเพื่อพัฒนาการจักประสบการณืการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่เด็กในการศึกษาในระดับชั้นต่อไป
การจัดทำงานวิจัยในครั้งนี้ ทำขึ้นเพื่อศึกษา ทดลอง รูปแบบการจัดการเรียนการสอนสื่อทางคณิตศาสตร์ที่จะสร้างศักยภาพทางคณิตศาสตร์ และเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ให้แก่เด็ก

สิ่งที่ได้จากการเรียนในวันที่ 13 พ.ย. 2550


เรียนเรื่องงานวิจัยทางคณิตศาสตรืสำหรับเด็ก และสรุปงานวิจัยตามความเข้าใจ และเล่นเกมฝึกสมองของเด็ก ในบล็อกของอาจารย์ สนุกมากมาก